Skip to content
Close

Request a Demo

*Required

Terms of Use:

Your personal information will be collected and used to provide newsletters, updates, and messages regarding our products and services.

Privacy Policy:

For detailed information on how we handle personal information, please refer to the following link: Uzabase Privacy Policy

heart

Thank you for reaching out!

We will get back to you as soon as possible.

We will review your application and get back to you soon.
If you have any questions,
please feel free to contact us.

divider email spasia_sales@uzabase.com

Follow our Linkedin Page !

linked in

Our latest updates on
ASEAN reports and webinars are posted here.

Thai

การประเมินมูลค่าบริษัทเป้าหมาย: 4 แนวทางสำหรับบริษัทการลงทุน

ทำความเข้าใจภูมิทัศน์ M&A ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม้ว่าภูมิทัศน์ M&A (การควบรวมและการซื้อกิจการ) ทั่วโลกจะมีความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวกับสถานการณ์ M&A และมูลค่าดีลใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะลดลงในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา แต่ภูมิภาคนี้กลับแสดงศักยภาพด้าน M&A อย่างมากและดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ

ตามการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ประเทศเอเชียที่กำลังพัฒนา มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น 4.8% ในปี 2024 ซึ่งสูงกว่าการประมาณการทั่วโลกที่ 2.9% ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศ—สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา บรูไน ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ ได้ปิดดีล M&A จำนวน 598 ดีล รวมมูลค่า 61.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2023 โดยสิงคโปร์เป็นผู้นำในกิจกรรมนี้ ตามด้วยฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

ความสำคัญของการประเมินมูลค่าที่ดี

การประเมินมูลค่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกรรม M&A ที่ประสบความสำเร็จทั้งหมด เนื่องจากเป็นการสร้างกรอบในการกำหนดมูลค่าของเป้าหมายการเข้าซื้อกิจการ การประเมินมูลค่าที่ถูกต้องช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลบริษัทตรงกับความเป็นจริงในการกำหนดเงื่อนไขของดีลที่เป็นไปได้ และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการตัดสินใจว่าควรดำเนินการดีลนั้นหรือไม่

นอกจากนี้ เป็นเรื่องปกติที่การประเมินมูลค่าที่แข็งแกร่งจะเริ่มต้นด้วยการคัดกรองเป้าหมายอย่างกว้างขวาง กระบวนการนี้ทำให้มั่นใจว่าเป้าหมายการเข้าซื้อกิจการที่เลือกสอดคล้องกับกลยุทธ์และการเงินขององค์กรที่ต้องการซื้อ

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการประเมินมูลค่าอิสระในกองทุน Private Equity

ความสำคัญของการประเมินมูลค่าที่ดียิ่งเน้นมากขึ้นในอุตสาหกรรมกองทุน Private Equity (PE) ซึ่งการประเมินมูลค่าอิสระและเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการประเมิน portfolio กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้น ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าบริษัท PE ขาดทักษะภายในในการทำการประเมินมูลค่าเอง แต่เพราะนักลงทุนเห็นความสำคัญของการมีบุคคลที่เป็นอิสระเข้ามาเพิ่มความมั่นใจ ความสม่ำเสมอ และความโปร่งใสในการประเมินมูลค่าบริษัทในพอร์ตโฟลิโอ

การประเมินมูลค่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณา นอกเหนือจากการศึกษางบดุลหรือประเมินสินทรัพย์สุทธิแล้ว ยังต้องประเมินกระแสเงินสดในอนาคตและศักยภาพการเติบโตของเป้าหมายด้วย บริษัทต่างๆ ใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าที่แตกต่างกันตามสถานการณ์เฉพาะของตน

ทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ธุรกิจและข้อดีของการลงทุนต้องได้รับการพิจารณาอย่างละเอียดระหว่างกระบวนการประเมินมูลค่า และวิธีการต่อไปนี้คือสิ่งที่บริษัทการลงทุนหลายแห่งในอุตสาหกรรมการเงินใช้ในกระบวนการของพวกเขา

วิธีที่ 1: Valuation Multiples

Valuation Multiples คืออัตราส่วนที่เปรียบเทียบธุรกิจเป้าหมายกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน และประเมินมูลค่าที่เป็นธรรมของบริษัทตามการประเมินมูลค่าของธุรกิจที่เทียบเคียงได้ มีประเภทของ Multiples ที่แตกต่างกันซึ่งเหมาะสมกับอุตสาหกรรมและโมเดลธุรกิจที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น Enterprise-Value-to-EBITDA, Price-to-Sales, Price-to-Earnings และอื่นๆ

การใช้ Valuation Multiples นำมาซึ่งมาตรฐานเมื่อทำการประเมินมูลค่าบริษัทต่างๆ จากอุตสาหกรรมเดียวกัน เนื่องจากเป็นจุดอ้างอิง อย่างไรก็ตามการประเมินมูลค่าด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัด เช่น การใช้ข้อมูลในอดีตที่อาจล้าสมัยและไม่ได้คำนึงถึงการพัฒนาตลาดในอนาคตและศักยภาพการเติบโต นอกจากนี้ การหาบริษัทที่เหมาะสมสำหรับการเปรียบเทียบอาจไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเฉพาะทางหรือในตลาดที่มีโมเดลธุรกิจหลากหลาย หนึ่งในจุดแข็งของ Speeda (ระบบฐานข้อมูลโปรไฟล์ธุรกิจและแพลตฟอร์มค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ) คือการครอบคลุม SMEs ในภูมิภาค ASEAN และมีฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งพร้อมตัวกรองที่ออกแบบมาเพื่อระบุบริษัทในภาคอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ความสามารถนี้ช่วยให้ Speeda สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมและอำนวยความสะดวกในการเปรียบเทียบภายในตลาดเฉพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีที่ 2: Net Asset Value Method

วิธี NAV คำนวณมูลค่าของเป้าหมายตามความแตกต่างระหว่างหนี้สินและสินทรัพย์รวม เหมาะสมที่สุดสำหรับการประเมินมูลค่าบริษัทที่มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ที่มีตัวตนอื่นๆ การคำนวณ NAV ของบริษัทนั้นทำได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลทางการเงินของบริษัทนี้สามารถหาได้จากการห้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเปิดในอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตามการใช้แพลตฟอร์มข้อมูลอุตสาหกรรมที่สามารถกรองข้อมูลที่คุณต้องการจะช่วยให้คุณสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับการประเมินมูลค่าบริษัทที่เน้นการให้บริการหรือบริษัทที่มีการเติบโตสูงที่ไม่มีสินทรัพย์ที่มีตัวตนมากนัก สุดท้าย วิธี NAV ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าสินทรัพย์และหนี้สินได้รับการประกาศตามมูลค่าตลาดที่เป็นธรรม และเช่นเดียวกับ Valuation Multiples วิธีนี้ไม่ได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคตหรือศักยภาพการเติบโต

วิธีที่ 3: Discounted Cash Flow

การวิเคราะห์ DCF เป็นแนวคิดที่ประเมินมูลค่าของบริษัทตามมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคต การประมาณค่านี้โดยใช้วิธี DCF เริ่มจากการคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตแล้วนำมาปรับลดมูลค่ามาเป็นปัจจุบันโดยใช้ส่วนลดที่เหมาะสม

ข้อดีหลักของการวิเคราะห์ DCF คือการคำนึงถึงแนวโน้มการเติบโตในอนาคตของเป้าหมาย พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในตลาด นอกจากนี้ยังสามารถทำนายมูลค่าของบริษัทได้อย่างแม่นยำยิ่งกว่าการใช้ Multiples เนื่องจากการประเมินมูลค่ามาจากการคาดการณ์กระแสเงินสดของเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของ DCF คือความยากลำบากในการใช้งานและการใช้สมมติฐานที่เป็นอัตวิสัยเกี่ยวกับอัตราการเติบโตที่คาดการณ์ไว้ อัตราส่วนลด และกระแสเงินสด แม้แต่ความแตกต่างเล็กน้อยในสมมติฐานเหล่านี้ก็อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการประเมินมูลค่าท้ายที่สุด

วิธีที่ 4: Fairness Opinions

Fairness Opinions คือการประเมินโดยบุคคลที่สามเกี่ยวกับเงื่อนไขของการเข้าซื้อกิจการเพื่อยืนยันความยุติธรรมของธุรกรรมตามความเห็นชอบของผู้ถือหุ้นทุกคน โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่ปรึกษาด้านการประเมินมูลค่าอิสระ บริษัทที่ปรึกษา และธนาคารเพื่อการลงทุนจะเป็นผู้ออกความเห็นเหล่านี้ ความสำคัญของ Fairness Opinions ในการทำธุรกรรมมีบทบาทสำคัญเนื่องจากเป็นการประเมินความยุติธรรมของข้อตกลงที่เสนออย่างเป็นกลาง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และยังช่วยปกป้องคณะกรรมการบริหารที่รับผิดชอบการตัดสินใจจากความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องโดยผู้ถือหุ้น

ข้อจำกัดของ Fairness Opinions คือไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกรรมต่อธุรกิจโดยรวมหรือแง่มุมเชิงกลยุทธ์ใดๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการประเมินมูลค่าที่กล่าวไปในข้างต้น ดังนั้นวิธีนี้ไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานเดียวสำหรับการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับธุรกรรม แต่ควรใช้ร่วมกับเทคนิคการประเมินมูลค่าอื่นๆ เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่สมบูรณ์เกี่ยวกับข้อดีของธุรกรรม

เพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลโดยใช้แพลตฟอร์มข้อมูลธุรกิจ

การควบรวมและการซื้อกิจการมาพร้อมกับความท้าทายและความเสี่ยงต่างๆ ที่ต้องได้รับการประเมินอย่างรอบคอบ ซึ่งในที่นี้วิธีการประเมินมูลค่ามีความจำเป็น ช่วยให้สามารถต่อภาพรวมของธุรกรรม M&A ให้สมบูรณ์ เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาการค้นหาข้อมูลบริษัทและการเข้าใจถึงประสิทธิภาพของตลาดและอุตสาหกรรมสำหรับการพยากรณ์ทางธุรกิจจะเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อมีโซลูชั่นอย่างแพลตฟอร์มข้อมูลการเงินธุรกิจหรือเครื่องมือรายงานการเงินขององค์กรที่สามารถค้นหาโอกาสในการลงทุนระดับโลกได้

ตัวอย่างสำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้คือ Speeda ซึ่งเป็นเครื่องมือวิจัยธุรกิจอัจฉริยะชั้นนำที่สามารถเป็นโซลูชันข้อมูลการลงทุนที่เหมาะสม ในฐานะแพลตฟอร์มข้อมูลที่ครอบคลุมข้อมูลบริษัทเอกชนที่ไม่จดทะเบียนในเครือ ASEAN เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และไทย Speeda มอบการเข้าถึงข้อมูลตลาดที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับการสรรหาดีลในมือคุณ เร่งกระบวนการวิจัยของคุณเพื่อให้คุณก้าวนำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ

เริ่มการทดลองใช้งานฟรี 7 วันของคุณวันนี้หรือ ติดต่อเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Speeda ช่วยคุณก้าวไปสู่การตัดสินใจที่ชาญฉลาดขึ้นได้อย่างไร

Recommended Content For You