Skip to content

Thai

การประเมินมูลค่าบริษัทเป้าหมาย: 4 แนวทางสำหรับบริษัทการลงทุน

ทำความเข้าใจภูมิทัศน์ M&A ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม้ว่าภูมิทัศน์ M&A (การควบรวมและการซื้อกิจการ) ทั่วโลกจะมีความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวกับสถานการณ์ M&A และมูลค่าดีลใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะลดลงในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา แต่ภูมิภาคนี้กลับแสดงศักยภาพด้าน M&A อย่างมากและดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

ตามการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ประเทศเอเชียที่กำลังพัฒนา มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น 4.8% ในปี 2024 ซึ่งสูงกว่าการประมาณการทั่วโลกที่ 2.9% ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศ—สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา บรูไน ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ ได้ปิดดีล M&A จำนวน 598 ดีล รวมมูลค่า 61.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2023 โดยสิงคโปร์เป็นผู้นำในกิจกรรมนี้ ตามด้วยฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

 

ความสำคัญของการประเมินมูลค่าที่ดี

การประเมินมูลค่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกรรม M&A ที่ประสบความสำเร็จทั้งหมด เนื่องจากเป็นการสร้างกรอบในการกำหนดมูลค่าของเป้าหมายการเข้าซื้อกิจการ การประเมินมูลค่าที่ถูกต้องช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลบริษัทตรงกับความเป็นจริงในการกำหนดเงื่อนไขของดีลที่เป็นไปได้ และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการตัดสินใจว่าควรดำเนินการดีลนั้นหรือไม่

นอกจากนี้ เป็นเรื่องปกติที่การประเมินมูลค่าที่แข็งแกร่งจะเริ่มต้นด้วยการคัดกรองเป้าหมายอย่างกว้างขวาง กระบวนการนี้ทำให้มั่นใจว่าเป้าหมายการเข้าซื้อกิจการที่เลือกสอดคล้องกับกลยุทธ์และการเงินขององค์กรที่ต้องการซื้อ

 

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการประเมินมูลค่าอิสระในกองทุน Private Equity

ความสำคัญของการประเมินมูลค่าที่ดียิ่งเน้นมากขึ้นในอุตสาหกรรมกองทุน Private Equity (PE) ซึ่งการประเมินมูลค่าอิสระและเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการประเมิน portfolio กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้น ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าบริษัท PE ขาดทักษะภายในในการทำการประเมินมูลค่าเอง แต่เพราะนักลงทุนเห็นความสำคัญของการมีบุคคลที่เป็นอิสระเข้ามาเพิ่มความมั่นใจ ความสม่ำเสมอ และความโปร่งใสในการประเมินมูลค่าบริษัทในพอร์ตโฟลิโอ

 

การประเมินมูลค่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณา นอกเหนือจากการศึกษางบดุลหรือประเมินสินทรัพย์สุทธิแล้ว ยังต้องประเมินกระแสเงินสดในอนาคตและศักยภาพการเติบโตของเป้าหมายด้วย บริษัทต่างๆ ใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าที่แตกต่างกันตามสถานการณ์เฉพาะของตน

 

ทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ธุรกิจและข้อดีของการลงทุนต้องได้รับการพิจารณาอย่างละเอียดระหว่างกระบวนการประเมินมูลค่า และวิธีการต่อไปนี้คือสิ่งที่บริษัทการลงทุนหลายแห่งในอุตสาหกรรมการเงินใช้ในกระบวนการของพวกเขา

 

วิธีที่ 1: Valuation Multiples

Valuation Multiples คืออัตราส่วนที่เปรียบเทียบธุรกิจเป้าหมายกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน และประเมินมูลค่าที่เป็นธรรมของบริษัทตามการประเมินมูลค่าของธุรกิจที่เทียบเคียงได้ มีประเภทของ Multiples ที่แตกต่างกันซึ่งเหมาะสมกับอุตสาหกรรมและโมเดลธุรกิจที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น Enterprise-Value-to-EBITDA, Price-to-Sales, Price-to-Earnings และอื่นๆ

 

การใช้ Valuation Multiples นำมาซึ่งมาตรฐานเมื่อทำการประเมินมูลค่าบริษัทต่างๆ จากอุตสาหกรรมเดียวกัน เนื่องจากเป็นจุดอ้างอิง อย่างไรก็ตามการประเมินมูลค่าด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัด เช่น การใช้ข้อมูลในอดีตที่อาจล้าสมัยและไม่ได้คำนึงถึงการพัฒนาตลาดในอนาคตและศักยภาพการเติบโต นอกจากนี้ การหาบริษัทที่เหมาะสมสำหรับการเปรียบเทียบอาจไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเฉพาะทางหรือในตลาดที่มีโมเดลธุรกิจหลากหลาย หนึ่งในจุดแข็งของ Speeda (ระบบฐานข้อมูลโปรไฟล์ธุรกิจและแพลตฟอร์มค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ) คือการครอบคลุม SMEs ในภูมิภาค ASEAN และมีฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งพร้อมตัวกรองที่ออกแบบมาเพื่อระบุบริษัทในภาคอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ความสามารถนี้ช่วยให้ Speeda สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมและอำนวยความสะดวกในการเปรียบเทียบภายในตลาดเฉพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีที่ 2: Net Asset Value Method

วิธี NAV คำนวณมูลค่าของเป้าหมายตามความแตกต่างระหว่างหนี้สินและสินทรัพย์รวม เหมาะสมที่สุดสำหรับการประเมินมูลค่าบริษัทที่มีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ที่มีตัวตนอื่นๆ การคำนวณ NAV ของบริษัทนั้นทำได้ง่าย เนื่องจากข้อมูลทางการเงินของบริษัทนี้สามารถหาได้จากการห้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเปิดในอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตามการใช้แพลตฟอร์มข้อมูลอุตสาหกรรมที่สามารถกรองข้อมูลที่คุณต้องการจะช่วยให้คุณสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับการประเมินมูลค่าบริษัทที่เน้นการให้บริการหรือบริษัทที่มีการเติบโตสูงที่ไม่มีสินทรัพย์ที่มีตัวตนมากนัก สุดท้าย วิธี NAV ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าสินทรัพย์และหนี้สินได้รับการประกาศตามมูลค่าตลาดที่เป็นธรรม และเช่นเดียวกับ Valuation Multiples วิธีนี้ไม่ได้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดในอนาคตหรือศักยภาพการเติบโต

 

วิธีที่ 3: Discounted Cash Flow

การวิเคราะห์ DCF เป็นแนวคิดที่ประเมินมูลค่าของบริษัทตามมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคต การประมาณค่านี้โดยใช้วิธี DCF เริ่มจากการคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตแล้วนำมาปรับลดมูลค่ามาเป็นปัจจุบันโดยใช้ส่วนลดที่เหมาะสม

 

ข้อดีหลักของการวิเคราะห์ DCF คือการคำนึงถึงแนวโน้มการเติบโตในอนาคตของเป้าหมาย พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในตลาด นอกจากนี้ยังสามารถทำนายมูลค่าของบริษัทได้อย่างแม่นยำยิ่งกว่าการใช้ Multiples เนื่องจากการประเมินมูลค่ามาจากการคาดการณ์กระแสเงินสดของเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของ DCF คือความยากลำบากในการใช้งานและการใช้สมมติฐานที่เป็นอัตวิสัยเกี่ยวกับอัตราการเติบโตที่คาดการณ์ไว้ อัตราส่วนลด และกระแสเงินสด แม้แต่ความแตกต่างเล็กน้อยในสมมติฐานเหล่านี้ก็อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการประเมินมูลค่าท้ายที่สุด

 

วิธีที่ 4: Fairness Opinions

Fairness Opinions คือการประเมินโดยบุคคลที่สามเกี่ยวกับเงื่อนไขของการเข้าซื้อกิจการเพื่อยืนยันความยุติธรรมของธุรกรรมตามความเห็นชอบของผู้ถือหุ้นทุกคน โดยทั่วไปแล้ว บริษัทที่ปรึกษาด้านการประเมินมูลค่าอิสระ บริษัทที่ปรึกษา และธนาคารเพื่อการลงทุนจะเป็นผู้ออกความเห็นเหล่านี้ ความสำคัญของ Fairness Opinions ในการทำธุรกรรมมีบทบาทสำคัญเนื่องจากเป็นการประเมินความยุติธรรมของข้อตกลงที่เสนออย่างเป็นกลาง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และยังช่วยปกป้องคณะกรรมการบริหารที่รับผิดชอบการตัดสินใจจากความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องโดยผู้ถือหุ้น

 

ข้อจำกัดของ Fairness Opinions คือไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกรรมต่อธุรกิจโดยรวมหรือแง่มุมเชิงกลยุทธ์ใดๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการประเมินมูลค่าที่กล่าวไปในข้างต้น ดังนั้นวิธีนี้ไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานเดียวสำหรับการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับธุรกรรม แต่ควรใช้ร่วมกับเทคนิคการประเมินมูลค่าอื่นๆ เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่สมบูรณ์เกี่ยวกับข้อดีของธุรกรรม

 

เพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลโดยใช้แพลตฟอร์มข้อมูลธุรกิจ

การควบรวมและการซื้อกิจการมาพร้อมกับความท้าทายและความเสี่ยงต่างๆ ที่ต้องได้รับการประเมินอย่างรอบคอบ ซึ่งในที่นี้วิธีการประเมินมูลค่ามีความจำเป็น ช่วยให้สามารถต่อภาพรวมของธุรกรรม M&A ให้สมบูรณ์ เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาการค้นหาข้อมูลบริษัทและการเข้าใจถึงประสิทธิภาพของตลาดและอุตสาหกรรมสำหรับการพยากรณ์ทางธุรกิจจะเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อมีโซลูชั่นอย่างแพลตฟอร์มข้อมูลการเงินธุรกิจหรือเครื่องมือรายงานการเงินขององค์กรที่สามารถค้นหาโอกาสในการลงทุนระดับโลกได้

 

ตัวอย่างสำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้คือ Speeda ซึ่งเป็นเครื่องมือวิจัยธุรกิจอัจฉริยะชั้นนำที่สามารถเป็นโซลูชันข้อมูลการลงทุนที่เหมาะสม ในฐานะแพลตฟอร์มข้อมูลที่ครอบคลุมข้อมูลบริษัทเอกชนที่ไม่จดทะเบียนในเครือ ASEAN เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และไทย Speeda มอบการเข้าถึงข้อมูลตลาดที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับการสรรหาดีลในมือคุณ เร่งกระบวนการวิจัยของคุณเพื่อให้คุณก้าวนำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ

 

เริ่มการทดลองใช้งานฟรี 7 วันของคุณวันนี้หรือ ติดต่อเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Speeda ช่วยคุณก้าวไปสู่การตัดสินใจที่ชาญฉลาดขึ้นได้อย่างไร

Nội dung được đề xuất cho bạn